3 วิธีช่วยให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ 12

แพทย์เฉพาะทางแนะนำผู้ปกครองควรสร้างและสะสมมวลกระดูกของบุตรหลานตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อลดความเสี่ยง “โรคกระดูกพรุน”

ข่าวสุขภาพ ในอนาคตได้โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และ ภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความหนาแน่นของกระดูก (Bone Density) และคุณภาพของกระดูก (Bone quality) ที่ลดลง ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกหักง่ายขึ้น แม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในลำดับที่ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด โดยสอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติพบว่า ประชากรไทยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 80 – 90% ยังไม่ได้รับการประเมินและรักษา โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือนเมื่อเกิดร่วมกับกระดูกสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกถึง 17 % และมีสัดส่วน 80% ที่ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมนพ.ศรัณย์ จินดาหรา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า โรคกระดูกพรุนเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักใหญ่ คือ ปริมาณมวลกระดูกที่สะสม (Peak bone mass) ไว้มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือ มีการสลายของกระดูกมากกว่าปกติ โดยปกติแล้วมวลกระดูกนั้นจะเพิ่มสูงสุดอยู่ในระหว่างช่วงอายุ 30 – 34 ปี หลังจากนั้นจะมีการสูญเสียของมวลกระดูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสตรีเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วในระยะ 5 ปีแรกและลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามกระดูกของเด็กในวัยนี้จะแข็งแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอาหารเป็นสำคัญ เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายรวมถึงมวลกระดูก โดยเฉพาะปริมาณของแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปมีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการเจริญเติบโตของกระดูก

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ 12

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวัย ดังนี้ เด็ก 6 เดือนแรก ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 400 มิลลิกรัมต่อวันเด็กอายุ 6 เดือน -1 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 700 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 4-8 ปี

ข่าวสุขภาพ ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และเด็กอายุ 9-18 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวันทั้งนี้อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากและดูดซึมได้ดี คือ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม (นม 1 กล่อง ปริมาณ 250 ซีซี ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม) อาหารอื่นๆ ที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้ ผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น คะน้า ตำลึง ผักกระเฉด ขี้เหล็ก ดอกแค สะเดา3 วิธีช่วยให้กระดูกแข็งแรง การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงสามารถทำได้ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี เป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด1. ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight Bearing Exercise) และแบบเพิ่มแรงต้านอย่างสม่ำเสมอ (Resistant Exercise) โดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน วิ่ง หรือการเดิน2. การได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามคำแนะนำของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564 มีดังนี้ สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และหญิงวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ไม่แนะนำให้รับประทานแคลเซียมมากกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งรวมทั้งแคลเซียมจากอาหารและแคลเซียมเสริม สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัตินิ่วในไต ควรได้รับการประเมินสาเหตุของการเกิดนิ่ว ส่วนประกอบของนิ่วก่อนให้แคลเซียมเสริม 3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ที่มีผลให้มวลกระดูกลดลง นพ.ศรัณย์ กล่าวว่า ภาวะกระดูกสันหลังหักจากโรคกระดูกพรุน อาจจะมีอาการปวดเรื้อรังเพียงเล็กน้อย ตัวเตี้ยลง หลังค่อม หลังคด ท้องอืด เบื่ออาหาร เนื่องจากความจุในช่องท้องลดลง ไปจนถึงผู้ป่วยมีอาการปวดมากจนไม่สามารถลุกเดินได้

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : กรมวิทย์ฯ พร้อมเปิดถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดตรวจเชื้อวัณโรค-กัญชา สำหรับผู้สนใจแล้ว