เผยโฉม เรือเต่ายักษ์ ออกแบบเป็น เมืองลอยน้ำ มูลค่าเกือบ 3 แสนล้าน

งานออกแบบที่น่าตื่นตะลึง เรือเต่ายักษ์ ที่สร้างเป็นเมืองลอยน้ำสุดหรู ตั้งค่าก่อสร้างไว้สูงถึง 2.8 แสนล้านบาท

ข่าวออกแบบ  รายงานถึงการเปิดตัวโครงการก่อสร้างเรือลำยักษ์ ใหญ่ยิ่งกว่าซูเปอร์ยอชต์ หรือกิกะยอชต์ แม้ว่าช่วงเวลานี้เศรษฐกิจจะไม่เป็นใจเรือลำหรูที่มีรูปร่างคล้ายเต่าทะเล มีชื่อว่า พันจีออส มาจากคำว่า พันเจีย มหาทวีปเมื่อ 200 ถึง 335 ล้านปีก่อน บริษัทลาซซารินี (Lazzarini) เผยมูลค่าก่อสร้างสูงถึง 8,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.8 แสนล้านบาทการที่เรือมีมูลค่าแพงขนาดนี้ เพราะมีโครงสร้างใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการก่อสร้างมา กล่าวคือมีความยาว 550 เมตร และกว้าง 610 เมตรองค์ประกอบในเรือนับว่าเป็นเมืองลอยน้ำเต็มรูปแบบ มีทั้งโรงแรม ช็อปปิ้งมอลล์ สวนสาธารณะ แม้กระทั่งท่าจอดเรือลำเล็ก และลานจอดเครื่องบินเล็กก็มีให้ลูกค้าไฮเอนด์สถานที่ต่อเรือเป็นที่พิเศษเช่นกัน เพราะเป็นที่ที่ไม่เคยทำมาก่อน ลาซซารินีโพสต์ว่าจะไปต่อเรือลำนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย ใช้พื้นที่ก่อสร้างในทะเลราว 1 ตารางกิโลเมตร

เรือเต่ายักษ์ 22

เพื่อขุดร่องและสร้างเขื่อนล้อมรอบก่อนเริ่มต้นต่อเรือทีมออกแบบมองพื้นที่ไว้ว่าน่าจะเป็นท่าเรืออับดุลเลาะห์ 81 ทางเหนือของนครเจดดาห์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะมาก

ข่าวออกแบบ แบบก่อสร้างจะเป็นเป็นบล็อก มีท่าเรือและพื้นที่หลักอยู่ตรงกลาง จากนั้นจึงขึ้นอาคารอื่นโดยรอบ ชั้นบนที่เป็นเหมือนกระดองเต่าจะล้อมรอบด้วยสวน และพื้นที่ลานบินให้เครื่องบินเล็กลงจอดส่วนพื้นที่อยู่อาศัยด้านล่างจัดแบ่งเป็น 30,000 ห้อง เพื่อรักษาโครงสร้างให้ลอยน้ำได้ ชั้นล่างสุดเป็นโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ 30 เมตร เพื่อให้เรือขับเคลื่อนด้วยสปีด 5 นอต แม้ว่าส่วนตัวปีกจะดึงพลังงานไปบ้าง ส่วนหลังคาเรือติดแผงโซลาร์สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้เรือ บริษัท ลาซซารินีหวังว่าโครงสร้างนี้จะเริ่มต้นในปีค.ศ. 2033 และใช้เวลาสร้าง 8 ปี ตอนนี้อยู่ระหว่างการหาทุนก่อสร้าง 2.8 แสนล้านบาท

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : SIAMJNK คลังสินค้ารูปโฉมใหม่ Boutique Warehouse ตอบโจทย์ธุรกิจแบบครบวงจร

การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : จำเป็น/แค่ไหน

บุคคลทั่วไปที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์เพียงพื้นฐาน

ข่าวเศรษฐศาสตร์  จะทราบว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์/ความต้องการมวลรวมมากเกินไป หรือ อาจกล่าวเป็นภาษาชาวบ้านว่าเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป อาการเศรษฐกิจที่ว่านี้ต้องแก้ไขด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียว แต่ว่า ภาวะเงินเฟ้อ ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์มวลรวมมากเกินไปเสมอไป การปรับขึ้นราคาน้ำมันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในทศวรรษที่ 1970 ก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้มากมายมาแล้ว ตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนเป็นต้นมา ประเทศกลุ่มนาโตคว่ำบาตรรัสเซียด้วยการไม่ซื้อน้ำมันจากรัสเซีย การจัดหาน้ำมันของกลุ่มประเทศเหล่านั้นจึงไม่มีทางอื่นนอกจากการซื้อน้ำมันจากประเทศนอกรัสเซียมากขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศนอกรัสเซียเท่าเดิม แถมยังลดกำลังผลิตในช่วงหลังด้วย ราคาน้ำมันจึงพุ่งสูงอย่างรุนแรงด้วยปริมาณความต้องการมากกว่าปริมาณที่มีขายอยู่พร้อม ๆ กับการเก็งกำไรของตลาดซื้อขายน้ำมัน ที่จริงแล้ว ประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีการลดการผลิตน้ำมันตั้งแต่ปี 2021 แล้วและทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นตลอดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในบทความนี้จะดูผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อในประเทศตัวอย่าง 4 ประเทศคือ ไทย สหรัฐอเมริกา จีน และออสเตรเลีย รูปกราฟที่แสดงอัตราเงินเฟ้อในไทยและสหรัฐอเมริกาขึ้นถึงจุดสูงสุดประมาณกลางปี 2022 และเริ่มลดลงมาตามราคาน้ำมันหลังจากนั้น จีนเป็นกรณีที่อัตราเงินเฟ้อลดลงมาแล้วสูงขึ้นไปอีก ส่วนออสเตรเลียยังไม่มีจุดสูงสุด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการเติบโตทางเศรษฐกิจราบไตรมาส จะพบว่าเศรษฐกิจของไทยค่อย ๆ สูงขึ้นตั้งแต่การเปิดประเทศในไตรมาส 4 ปี 2021 ที่เริ่มต้นด้วยภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์จนกระทั่งเปิดเต็มที่ในปีนี้ เมื่อไปดูรูปกราฟที่แสดงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะพบว่า ธนาคารกลางเริ่มปรับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022 และปรับสูงทั้งหมดเพียง 0.75 หน่วย% ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเปิดประเทศ/ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็น dominating of factor ของเศรษฐกิจไทย ราคาน้ำมันอาจสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นไม่มากและมาช้าด้วยจึงอาจจะไม่ส่งผลกระทบหรือยังไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

ปรับอัตราดอกเบี้ย 17

ส่วนอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะพบว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟุบด้วยภาวะโควิดในปี 2020 แต่เด้งกลับขึ้นในปี 2021

ข่าวเศรษฐศาสตร์ เกินกว่าที่เสียไป หลังจากนั้นเศรษฐกิจทยอยขยายตัวลดลงด้วยอัตราที่ต่ำลงเรื่อย ๆ สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2021 ปัจจัยสำคัญสำหรับสหรัฐอเมริกาที่ควรกล่าวถึงคือ ระดับการขาดดุลทางการคลังสำหรับปีงบประมาณ 2022 (Oct 2021-Sep 2022) มีระดับเพียง 1/3 ของการขาดดุลของ 2 ปีงบประมาณก่อนหน้านี้ เมื่อสรุปโดยรวมแล้ว dominating of factor ต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นการขาดดุลที่ลดลง หรือ ราคาน้ำมัน หรือ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วกว่าและมากกว่าประเทศอื่น ๆ คือตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 และปรับทั้งหมด 3.5 หน่วย% หรือ ทั้งหมดรวม ๆ กันและแยกไม่ออกว่าอย่างไหนมากกว่ากัน เมื่อดูองค์ประกอบของจีดีพีจะพบว่าการบริโภคภาคเอกชนลดลงในไตรมาส 2-3 ประมาณ 1-2% แต่การบริโภคมีสัดส่วนถึง 70%ของจีดีพีจึงส่งผลกระทบมาก แต่ว่าการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากที่สุดถึง 10% หรือกว่านั้นแม้ว่าจะมีสัดส่วนเพียง 20% โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ราคาน้ำมันและความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจีดีพีโดยรวมกรณีของจีน เห็นได้ชัดว่า จีดีพีได้รับผลกระทบหลักจากการล็อกดาวน์ ที่ทำให้การผลิตทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 ไม่ได้ส่งผลอะไรที่ชัดเจนแม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ต่ำลงแต่ก็ไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจแต่อย่างใด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีขนาดเพียง 0.20 หน่วย% เท่านั้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นด้วยราคาน้ำมันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแต่อย่างใดเศรษฐกิจออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากโควิดในปี 2020 และฟื้นกลับมาในปี 2021 ด้วยอัตราการขยายตัวที่สูงพร้อม ๆ กับความต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าธุรกิจที่อยู่อาศัยเริ่มได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันตั้งแต่ต้นปี 2022 และการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 แต่ก็มีการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางในระดับสูงที่ช่วยชดเชยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับ 3-4% และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปีที่ 3+% การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเท่าที่ควรจะเป็นเลย

แนะนำข่าวเศษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ยูโอบีชี้ 10 ปัจจัยหนุนอาเซียนรับมือกับความผันผวนของตลาดในปี 66