“ไทยแอร์เอเชีย” หวังพลิกทำกำไรปี 66 ชี้น้ำมัน-ดีมานด์พุ่ง ดันตั๋วบินแพง 20%

สายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย” คาดหวังว่าปี 2566 จะกลับมาทำกำไร!

ข่าวธุรกิจ จากรายได้ที่น่าจะเติบโตสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารฟื้นตัวเพิ่มเป็น 20 ล้านคน ขยายตัว 2 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวน 10 ล้านคนในปีนี้ ใกล้เคียงจำนวน 22-24 ล้านคนเมื่อปี 2562 ก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19สันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ประเมินว่า สถานการณ์ผู้โดยสารของไทยแอร์เอเชียจะฟื้นตัวอย่างโดดเด่นในช่วงครึ่งหลังปีหน้า ด้วยปัจจัยตลาด “นักท่องเที่ยวจีน” อาจเริ่มกลับมาบางส่วนราว 30% เมื่อเทียบกับที่เคยทำการบินก่อนโควิด-19 ระบาดทั้งนี้คาดการณ์ว่า “เส้นทางบินในประเทศ” ของไทยแอร์เอเชียจะฟื้นตัวกลับมา 100% ในครึ่งแรกปีหน้า ส่วน “เส้นทางบินระหว่างประเทศ” กลับมา 100% ในครึ่งปีหลัง ทำให้ตลอดปีหน้าจะมีสัดส่วน “รายได้” จากเส้นทางในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศที่ 40:60 จากสัดส่วน “จำนวนผู้โดยสาร” เส้นทางในประเทศและระหว่างประเทศซึ่งกลับกันที่ 60:40 เปลี่ยนแปลงจากปีนี้ที่มีสัดส่วนจำนวนผู้โดยสาร 70:30 โดยตั้งเป้าอัตราการขนส่งผู้โดยสาร (โหลดแฟคเตอร์) ปีหน้าเฉลี่ยที่ 87-88% ก่อนกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2567“ตลาดนักท่องเที่ยวจีนคือ ‘จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้าย’ ของสมการเส้นทางบินระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินทั้งหมด 53 ลำ ใช้เครื่องบินทำการบินจริงแล้ว 43 ลำ เหลืออีก 10 ลำที่ยังรอต้อนรับนักท่องเที่ยวเมื่อมีการเปิดประเทศจีน ขณะที่ก่อนโควิด-19 ระบาด ตลาดเส้นทางบินไปจีนครองสัดส่วนรายได้มากถึง 30% ของรายได้เส้นทางบินระหว่างประเทศ แต่ในปี 2565 เหลือเพียง 3%”เบื้องต้นมองว่ารัฐบาลจีนน่าจะเปิดประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไปในปีหน้า เห็นความคืบหน้ามากขึ้นในช่วงหลังเทศกาลตรุษจีน หลังมีสัญญาณดีขึ้นเรื่อยๆ ที่เป็นรูปธรรมคือการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้า “ฮ่องกง” และน่าจะผ่อนคลายฯ “มาเก๊า” เป็นลำดับถัดไป

ไทยแอร์เอเชีย17

หลังจากปัจจัยอื่นๆ คลี่คลาย ผู้คนสามารถ “อยู่ร่วมกับโควิด-19” ได้มากขึ้น ส่วนความกังวลเรื่องภาวะ “เศรษฐกิจถดถอย”

ข่าวธุรกิจ ทำให้เงินฝืด คนใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวน้อยลงนั้น มองว่าการเดินทางท่องเที่ยวยังเป็นเรื่องจำเป็น ทำให้คนเลือกสายการบินราคาประหยัด หันมาเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น เช่น ภายในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น“เป็นโอกาสของสายการบินโลว์คอสต์ทั้งในช่วงเศรษฐกิจดีและไม่ดี ถ้าในช่วงเศรษฐกิจดี ก็จะช่วยกระตุ้นการเดินทางในเชิงจำนวน แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ก็จะกระตุ้นการเดินทางในเชิงราคาประหยัด อย่างไรก็ตาม มองว่าในปี 2566 จะไม่มีสงครามราคา เพราะทุกสายการบินจะทำราคาแบบมีเหตุมีผลมากขึ้น หลังได้บทเรียนจากโควิด-19”ทั้งนี้ ไทยแอร์เอเชียประเมินสถานการณ์ “ราคาตั๋วเครื่องบิน” เฉลี่ยทั้งเส้นทางในประเทศและระหว่างประเทศปี 2566 ด้วยว่าน่าจะเพิ่มขึ้น 20% จากปัจจัยต้นทุนหลัก “ราคาน้ำมันเครื่องบิน” ที่น่าจะยังสูงในระดับ 100-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ถือเป็นระดับที่ไทยแอร์เอเชียสามารถบริหารจัดการได้ ขอแค่คงที่ ไม่แพงและผันผวนเกินไป หลังปรับขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่เคยอยู่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นอกจากนี้ “ดีมานด์การเดินทาง” ที่สูงขึ้นจากโควิด-19 คลี่คลาย เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ราคาตั๋วเครื่องบินแพงขึ้นด้วย“แม้การขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน 20% จะไม่ครอบคลุมต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้นราว 100% แต่ก็ถือว่ายังพอช่วยผู้ประกอบการซึ่งแบกต้นทุนน้ำมันมาตั้งแต่ต้นปีและไม่ได้ส่งต่อต้นทุนแก่ผู้โดยสารตามที่ควรจะเป็น โดยล่าสุดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) อนุญาตให้ผู้ประกอบการสายการบินเพิ่มค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันสำหรับเส้นทางบินในประเทศได้ตั้งแต่ปลายปีนี้”สันติสุข นิยามภาพรวมปี 2565 ซึ่งกำลังจะรูดม่านในอีกไม่กี่วันว่าเป็น “ปีแห่งการซ่อมสร้าง” และยังเป็นอีกหนึ่งปีที่ยากลำบากของธุรกิจการบิน เพราะย้อนไปเมื่อต้นปีเปิดฉากได้ไม่สวยนัก จากสถานการณ์ระบาดของสายพันธุ์ “โอมิครอน” ก่อนที่ภาครัฐและเอกชนจะเร่งเครื่องดึง “นักท่องเที่ยวต่างชาติ” กันอย่างเต็มที่ในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้มีจำนวนเดินทางเข้าไทยทะลุ 10 ล้านคนตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ประกอบกับประเทศอื่นๆ กลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ไทยแอร์เอเชียกลับมาให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศได้มากขึ้นในไตรมาส 4 ปีนี้ ไทยแอร์เอเชียมีปริมาณเที่ยวบินในประเทศฟื้นตัวแล้ว 80-90% เมื่อเทียบกับก่อนโควิด-19 ส่วนปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศฟื้นเกิน 50% แล้ว เฉพาะเดือน ธ.ค. มีเที่ยวบินในประเทศประมาณ 700 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เที่ยวบินระหว่างประเทศ 300 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รวมกว่า 1,000 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ คิดเป็นการฟื้นตัว 78% โดยคาดว่าตลอดปีนี้จะมีโหลดแฟคเตอร์เฉลี่ย 81% จากปริมาณที่นั่งโดยสารทั้งหมด 12.3 ล้านที่นั่ง และมีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน (Utilization) เฉลี่ย 9.4 ชั่วโมง

แนะนำข่าวธุรกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย “เจ้าสัวเจริญ – คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี “ขายหุ้นบิ๊กล๊อตมูลค่ารวมกว่า 3.33 พันล้าน

 

พยายามเจียนตาย แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน อาจเพราะทำบางทักษะหล่นหายไป ส่อง “The Lost Skills” แห่งโลกยุคใหม่ที่ขาดไม่ได้หากอยากอยู่รอด

ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills”

ข่าวออกแบบ ไม่มีใครปฏิเสธได้จริง ๆ ว่าในช่วง 3 – 4 ปีมานี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก แนวคิด ทัศนคติ กระแสสังคม พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทักษะอาชีพที่เรียกได้ว่าเคยเป็นงานนอกกระแสกลับบูมอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น ไรเดอร์ส่งอาหาร, TikToker, ขายของออนไลน์, นักเล่นหุ้น, นักเขียนนิยายออนไลน์ ฯลฯ หรือหลายคนก็ยังคงเกาะตำแหน่งเหนียวแน่นไม่ไปไหน ด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม ชีวิตแบบเดิม ทว่าต้องทนกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งเราก็จะได้เห็นว่าท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จกับการใช้ชีวิตอย่างมาก คนที่แค่พออยู่พอกิน ไปจนถึงด้านกลับก็คือคนที่ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันจากการพยายามเอาชีวิตรอดในโลกยุคใหม่นี้เลย และกำลังเอาตัวรอดไปในแต่ละวันอย่างยากลำบากเจียนตายอะไรคือความแตกต่างระหว่างคนแต่ละประเภทในคนทั้งสามรูปแบบที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีเรื่องดวงเข้ามาเกี่ยวทำให้แต่ละคนมีระดับความสำเร็จที่ต่างกันไป ถึงอย่างนั้น การมี ‘Soft Skills’ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, มูลนิธิคาร์เนกี และศูนย์วิจัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า 85% ของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการมี Soft Skills ที่ดี โดยหากขาด Soft Skills ไปก็จะทำให้มาตรฐานการทำงานลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ลดลง และยังส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรใหม่ ๆ ในวงกว้างอีกด้วยภายในงาน SOFT SKILLS BOOTCAMP ครั้งที่ 1 “Work Life Enhance” มี Session หนึ่งที่ชื่อว่า The Lost Skills” ซึ่งมี ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills” พาสำรวจทักษะชีวิตที่ใครหลายคนอาจหลงลืมหรือทำหล่นหายไปเสียแล้ว เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่การอยู่รอด และการประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่เข้าใจว่าการเรียนไม่รู้จบท่ามกลาง Soft Skills นับพันที่ล่องลอยอยู่ตามโลกอินเทอร์เน็ตและหนังสือคู่มือพัฒนาตัวเอง ทักษะแรกที่ ศ.ดร.นภดลเลือกจะแนะนำกลับเป็นเรื่องเบสิค ไม่ต้องมีชื่อจำยากหวือหวาอย่าง “ทักษะการเรียนรู้” โดยได้ให้เหตุผลว่าในยุคสมัยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าใครจะคาดคิด เรื่องที่เราเคยสอนเคยเรียนกันในคลาสทุกวันนี้ ปีหน้าอาจล้าสมัยไปเสียแล้ว ฉะนั้นทักษะที่จะซึมซับเรื่องราวใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มสมองอยู่ตลอดเวลาจึงสำคัญ โดยการฝึกตัวเองให้รักการเรียนรู้ โดยหัวใจสำคัญคือการที่เราต้องรู้ว่า เรียนไปแล้วได้อะไร ความรู้ชุดนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพื่อทำให้การเรียนอะไรสักอย่างมีความหมาย

พยายามเจียนตาย 12

เลือกโฟกัสบางเรื่อง เพราะยากที่จะเก่งทุกเรื่องในเวลาเดียวกัน

ข่าวออกแบบ ในโลกนี้มีความรู้อยู่มากมายหลายศาสตร์ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยคิดว่าการได้มีคามรู้ติดหัวไว้ยิ่งมากยิ่งดี ดังคำกล่าว ‘Why Choose? When You Can Have Them All’ อยากเก่ง อยากได้ความรู้อะไรก็เลือกช็อปปิ้งแบบบุฟเฟต์จาก Google ไปเลยสิ ทว่าระดับความจำและศักยภาพในการทำความเข้าใจของมนุษย์ก็มีจำกัด หากเทียบกับองค์ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่รอบตัวในตอนนี้ เราจึงต้องมี “ทักษะการเลือก” เพื่อคัดกรองสิ่งที่ควรต้องเรียน และนำมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อไม่ให้ตัวเอง Overload จนเกินไปจะดีกว่าหมั่นสร้างทักษะที่ไม่มีใครแทนที่ได้ยุคนี้เป็นยุคที่น่ากลัวสำหรับคนเก่ง เพราะไม่ว่าทักษะใดก็มีวี่แววว่าจะโดนปัญญาประดิษฐ์กับหุ่นยนต์เข้ามาแย่งงานได้ทุกเมื่อ ทั้งงานสายบัญชี, พิสูจน์อักษร, งานออกแบบ ไปจนถึงงานสายความคิดสร้างสรรค์อย่าง Creative Content หรือนักเขียนบทความ ก็มีข่าวว่ามีเอไอที่สามารถผลิตผลงานลักษณะนี้แทนมนุษย์ได้เช่นกัน ฉะนั้นการรับมือที่ดีที่สุดคือการ Up-Skill & Re-Skill อยู่เสมอ เพื่อสร้าง “ทักษะที่ไม่มีใครมาแทนได้” ให้เกิดขึ้นในตนเองได้ทิ้งท้ายว่าจากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้เลย หากคนเราขาดความเชื่อที่ว่า ตนนั้น ‘เรียนรู้และฝึกฝนได้’ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญเช่นกัน ศ.ดร.นภดลเคยนิยามตัวเองว่าเป็น Introvert คนหนึ่ง คือไม่ชอบที่จะพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ไม่ได้กล้าแสดงออก แต่ก็พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นอาจารย์และนักจัดพอดแคสต์ในทุกวันนี้ได้ จากความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความรู้และเรื่องราวดี ๆ ที่ตนได้พบเจอมากให้กับคนอื่น อะไรก็ตามที่เราเคยไม่เก่ง ไม่เคยทำได้มาก่อน หากได้ลองเปิดโอกาสเพื่อฝึกฝนตนเองดูก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อตัวเองและโลกใบนี้ก็เป็นได้

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลยQurated X ICONCRAFT สานฝันนักออกแบบไทยสู่เวทีโลก

เศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเรื่อง “หมูแพง”

ปีใหม่ที่ผ่านมา เราต่างตกใจว่า ราคาเนื้อหมูที่ปกติอยู่ราว 100 กว่าบาทต่อกิโลกรัม

ข่าวเศรษฐศาสตร์ กลับเพิ่มสูงขึ้นไปจนถึง 180 ถึง มากกว่า 200 บาทต่อกิโลกรัม ราคาหมูที่แพงขึ้นไม่ได้กระทบเพียงผู้บริโภคเท่านั้น แต่ส่งผลให้ร้านอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถแบกรับต้นทุนหมูแพงจนต้องปรับราคาขึ้น เช่น ร้านหมูทอดเจ๊จง[1] ที่ปกติราคาหมูขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อก็ยากที่จะปรับเพิ่มราคา ก็จำเป็นต้องเพิ่มราคาต่อเมนูเล็กน้อยในสถานการณ์ช่วงนี้ หรือแม้แต่ร้านหมูปิ้งทั่วไป เราคงสังเกตได้ว่าเนื้อหมูแต่ละไม้บางลง และไม่มีมันติดอีกต่อไป นอกจากนี้ ข่าวที่ตามมาในสังคมออนไลน์มีประเด็นถกเถียงน่าสนใจ คือ หมูแพงไม่ต้องกลัวก็แค่หันไปบริโภคอย่างอื่นแทน? อย่างไรก็ดี ประเด็นถกเถียงดังกล่าวเกิดกระแสทั้งทางบวกและทางลบ บ้างก็ได้รับการสนับสนุน เช่น หันไปบริโภคเนื้อจระเข้ เนื้อไก่ และอาหารทะเล เป็นต้น ขณะที่เกิดกระแสทางลบในการไปบริโภคเนื้อจากพืช เนื่องจากราคาเนื้อจากพืชยังแพงกว่า แล้วจะมาทดแทนเนื้อหมูได้อย่างไง เป็นต้น

“หมูแพง”7
จากเรื่องของ “หมูแพง” จึงทำให้เกิดเป็นกระแสของคำถามมากมายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้องของประชาชน

ข่าวเศรษฐศาสตร์ เรื่องสาเหตุของราคาหมูที่แพงขึ้น รวมไปถึงเรื่องของผลกระทบลูกโซ่ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนความกังวลของประชาชนในสภาวะที่บ้านเมืองประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ บทความนี้จะเป็นการเล่าแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคในประเด็นต่างๆ เพื่ออธิบายสถานการณ์ภาวะ “หมูแพง” พร้อมแสดงตัวอย่างประกอบข้อมูลสถิติการเกษตร โดยเริ่มต้นจากการสรุปสถานการณ์ในตลาดเนื้อสุกรและข้อสมมติฐานที่ทำให้ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นเป็นการอธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านทฤษฎีการบริโภค และสุดท้ายเป็นการอธิบายผลกระทบของ “หมูแพง” ไปสู่ตลาดสินค้าอื่น ๆ ผ่านแนวคิดของดุลยภาพทั่วไป ทำไม “หมูแพง”? ในเดือนมกราคม ปี 2565 อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกเนื้อสุกรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (Year on year growth rate) เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24.62 แต่ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม ปี 2564 เพียงร้อยละ1.85 [2] เท่านั้น ในภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่าราคาหมูประเภทต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน แต่ราคาลูกหมูจะมีความผันผวนมากกว่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ “หมูแพง” เหมือนจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 แล้ว คำถามที่ตามมา คือ สาเหตุหมูแพงมาจากอะไรได้บ้าง

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  จีนชู ‘แนวทางใหม่’ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นด้านเศรษฐกิจและการฟื้นตัวจากโควิด-19

ระทึกฝ่าราตรีหาอาเหว่เด็กพิเศษล่องหน เจอร่องน้ำแค่ตาตุ่มไม่มีทางจมแต่คงหนาวมาก

กรณี ด.ช.ชนาธิป เชอมือ หรือ อาเหว่ อายุ 2 ปี หายไปจากที่บ้าน

ข่าวเด็ก โดยพ่อและแม่ได้เดินทางไปเก็บกาแฟที่ไร่กาแฟ ฝากลูกชายรวม 3 คนช่วยดูแล ส่วน ด.ช.นาธิป เป็นคนสุดท้อง ไว้กับนางหมี่ซุ้ม เชอหมื่อ อายุ 62 ปี เป็นยาย ยายเดินไปรับหลานอีก 2 คน ที่ไปเรียนหนังสือที่อยู่ห่างจากบ้านเพียง 300 เมตร เมื่อรับหลานทั้ง 2 คน ยายจึงเดินทางกลับมาบ้านทันที ไม่พบตัวน้องชนาธิป ขณะนั้นยายจึงได้ตามหาตัวน้อง พร้อมกับสอบถามเพื่อนบ้าน และบรรดาญาติ ๆ ต่างก็แจ้งว่าไม่เห็นน้องเลย

หลังจากเล่นกับหมาแล้วหายไปชาวบ้านที่ร่วมออกค้นหาเด็ก

ข่าวเด็ก ระบุว่า จะเดินออกค้นหาในรัศมีระยะทางห่าวออกไป 2 กม. เพราะสงสารเด็กและครอบครัว ซึ่งสภาพแวดล้อมทางเดินลำบากชาวบ้านช่วยกันระดมการค้นหาเด็กอย่างเต็มที่ในป่าใกล้เคียง ยังไร้วี่แววว่าจะพบ ในขณะที่พ่อแม่และญาติก็ตั้งความหวังว่าจะได้เจอเด็ก ทั้งไหว้ผีป่าผีเขาตามความเชื่อของชนเผ่าอาข่า โดยมีความหวังว่าจะได้พบเด็กได้กลับมาสู่อ้อมกอดของพ่อแม่เหมือนเดิมโดยบริเวณหมู่บ้านนี้ก็เป็นป่าล้อมรอบ เมื่อเช้าที่ผ่านมาก็ตามหาแล้วแต่ยังไม่พบเบาะแส แต่คาดว่าจหลงไปในเส้นทางนั้น อีกทั้งที่ผ่านมาน้องติดแม่มาก ไม่ค่อยเดินออกไปเล่นที่ไหนไกล

แนะนำข่าวเด็ก อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลยบีบหัวใจ เด็กชาย 9 ขวบ หนีออกจากบ้าน สะดุดตาพลเมืองดี เพราะแบกเพื่อนรักมาด้วย